เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 7. โคทัตตสูตร

7. โคทัตตสูตร
ว่าด้วยพระโคทัตตะ

[349] สมัยหนึ่ง ท่านพระโคทัตตะอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระโคทัตตะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ถามจิตตคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ธรรมเหล่านี้ คือ (1) อัปปมาณาเจโตวิมุตติ
(2) อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ1 (3) สุญญตาเจโตวิมุตติ (4) อนิมิตตาเจโตวิมุตติ2
มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้น”
จิตตคหบดีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถ
ต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นมีอยู่ อนึ่ง เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้
จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้นมีอยู่
ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะ
ต่างกัน เหตุนั้นเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ... ทิศ
ที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน3 ทิศเบื้องล่าง4 ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
ทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [7. จิตตสังยุต] 7. โคทัตตสูตร

มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ...
ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่
นี้เรียกว่า อัปปมาณาเจโตวิมุตติ
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ
สุญญตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าบ้าง ไปสู่โคนไม้บ้าง ไปสู่เรือนว่างบ้าง ย่อม
พิจารณาเห็นวิมุตติว่า ‘สิ่งนี้ว่างจากอัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา’
นี้เรียกว่า สุญญตาเจโตวิมุตติ
อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอนิมิตตเจโตสมาธิเพราะไม่กำหนดนิมิตทั้งปวงอยู่
นี้เรียกว่า อนิมิตตาเจโตวิมุตติ
ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกันและมี
พยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นเป็นอย่างนี้แล
ท่านผู้เจริญ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกัน
แต่พยัญชนะเท่านั้น
คือ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องวัด โทสะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องวัด โมหะชื่อว่า
กิเลสเป็นเครื่องวัด กิเลสเหล่านั้นภิกษุขีณาสพละได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
อัปปมาณาเจโตวิมุตติมีประมาณเท่าไร เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบบัณฑิตกล่าว
ว่า เลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุตติเหล่านั้น เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างจากราคะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 18 หน้า :386 }